วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Solid state drive, SSD

             โซลิดสเตตไดรฟ์ (: Solid state drive, SSD)  หรือ เอสเอสดี คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่งซึ่งใช้ชิปวงจรรวมที่ประกอบรวมเป็น หน่วยความจำ เพื่อจัดเก็บข้อมูลแบบถาวรเหมือนฮาร์ดดิสก์ เทคโนโลยีของโซลิดสเตตไดรฟ์ถูกสร้างมาเพื่อทดแทนฮาร์ดดิสก์จึงทำให้มีอินเทอร์เฟส อินพุต/เอ้าพุต เหมือนกันและสามารถใช้งานแทนกันได้ และเนื่องจากโซลิดสเตตไดรฟ์ถูกสร้างด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่มีชิ้นส่วนจักรกลใดๆที่มีการเคลื่อนที่ (หลักการของ ฮาร์ดดิสก์ และ ฟรอปปี้ดิสก์ คือใช้จานแม่เหล็กหมุน) ส่งผลให้ความเสียหายจากแรงกระแทกของโซลิดสเตตไดรฟ์นั้นน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ (หรือทนต่อการแรงสั่นสะเทือนได้ดี) โดยการเปรียบเทียบจากการที่โซลิดสเตตไดรฟ์ไม่ต้องหมุนจานแม่เหล็กในการอ่านข้อมูลทำให้อุปกรณ์กินไฟน้อยกว่า และใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูล (access time) และเวลาในการหน่วงข้อมูล (latency) น้อยกว่าเนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลในตำแหน่งต่างๆ ได้รวดเร็วและทันทีโดยไม่ต้องรอการหมุนจานแม่เหล็กให้ถึงตำแหน่งของข้อมูล






       คำว่าโซลิดสเตตไดรฟ์เป็นคำกว้างๆ ที่อธิบายถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลลักษณะเดียวกับฮาร์ดดิสก์แต่ใช้หน่วยความจำในการเก็บข้อมูลทดแทนการใช้จานแม่เหล็ก โซลิดสเตตไดรฟ์จึงมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างกันตามชนิดหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ปัจจุบันหน่วยความจำที่นิยมนำมาใช้ในโซลิดสเตตไดรฟ์คือ หน่วยความจำแฟลช ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปและเป็นที่นิยมที่สุดแต่มีข้อเสียที่จำกัดจำนวนครั้งในการเขียนข้อมูลทับ และอีกชนิดคือ เอสเอสดีจาก           DDR SDRAM   หรือแรมที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักดี ซึ่งเร็วกว่าหน่วยความจำแฟลชมากและเขียนทับได้ไม่จำกัด แต่เพราะว่า  DDR SDRAM  เป็นหน่วยความจำชั่วคราวดังนั้นการที่จะให้ทำงานเป็นหน่วยความจำถาวรก็ต้องมีแหล่งไฟฟ้าที่ถาวรเลี้ยงเพื่อไม่ให้ลืมข้อมูล ด้วยข้อจำกัดนี้ทำให้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้ทั่วไปตามบ้านเรือนแต่นิยมในอุตสาหกรรมที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง





SSD นั้นผลิตได้ 2 แบบ คือ
1.        1. NOR Flash           
         (หน่วยความจำจะถูกเชื่อมต่อกันแบบขนาน ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระอ่านข้อมูลเร็วมาก               แต่มีความจุต่ำ และราคาแพงมาก)


2. NAND Flash
       (เป็นแบบเข้าถึงข้อมูลทีละบล็อก ทำให้มีความจุสูง ราคาถูก) เป็นระบบเดียวกับ FlashDrive ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีราคาถูกกว่า ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท




  • ·       Single-Level Cell (SLC) : ในแต่ละเซลเก็บข้อมูลได้ 1 บิต ทำงานเร็ว กินพลังน้อย และมีอายุการใช้งานนาน (เขียนได้ 1 แสนครั้งโดยประมาณ) แต่มีราคาสูง
  • ·       Multi-Level Cell (MLC) : 1 เซลเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1 บิต (ปัจจุบัน 1 เซลเก็บได้ 2 บิต และอยู่ในระหว่างการพัฒนาให้เก็บได้มากขึ้นเรื่อยๆความเร็วต่ำกว่า ใช้พลังงานมากกว่า SLC เขียนได้ ไม่เกิน 1 หมื่นครั้ง แต่มีราคาถูก)                         

ที่มา : phakphum

Access Point

Access Point

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายนั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งอุปกรณ์ที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบันนี้มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ
1. Access Point (AP)
2. Wireless Router
3. Wireless Modem Router
แต่ในบทความนี้เราจะพูดถึงอุปกรณ์กระจายสัญญาณที่นิยมใช้งานกันมากที่สุด พร้อมกันนั้นการติดตั้งก็สะดวกเหมาะกับการใช้งานในตัวอาคารและนอกอาคาร อุปกรณ์ที่นี้คือ Access Point หรือตัวกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ต
Access Point คืออะไร
    Access Point (AP) คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการกระจายสัญญาณไวร์เลส เป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวหนึ่งที่สามารถสร้างเครือข่ายไร้สายจากระบบเครือข่ายแลน(Lan)ได้ง่ายที่สุด แอคเซสพอยท์ทำหน้าที่กระจายสัญญาณออกไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในรัศมีการกระจายสัญญาณโดยรอบ ซึ่งลักษณะของตัวแอคเซสพอยท์นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่กับผู้ผลิตจะดีไซน์ให้มีรูปร่างหน้าตาแบบไหน แต่ที่เหมือนกันก็คือ AP จะมีช่องเชียบสายแลนเพียงช่องเดียวเท่านั้น ช่องดังกล่าวจะเป็นช่องที่รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือใช้เชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์คจากเครือข่ายแลนเข้ากับเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย การทำงานของ AP จะทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11 ซึ่งทำให้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานนี้สามารถใช้งาน AP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
โดยมากแล้วแอคเซสพอยท์จะมีเสาสัญญาณเพียง 1 เสาเท่านั้นการเลือกซื้อถ้าเราต้องการสัญญาณที่มีคุณภาพดีขึ้นเราควรมองหาแอคเซสพอยท์ที่มีมากกว่า 2 เสาขึ้นไปเพื่อให้การกระจายสัญญาณของ AP สามารถกระจายสัญญาณได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นฐานของ AP นั้นจะมีไฟแสดงสถานะมาตรฐานอยู่ 3 สถานะก็คือ
- ไฟ Power สถานะนี้จะขึ้นแสดงเมื่อมีไฟฟ้ามาเลี้ยงที่ตัว AP ถ้าไฟดวงนี้ไม่ติดเราควรตรวจสอบปลั๊กว่ามีการเสียบปลั๊กดีหรือเปล่า
- ไฟ Link ไฟสถานะนี้จะเป็นไฟแสดงสถานะของสายแลนว่ามีการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์หรือเปล่า ถ้าเกิดไฟสถานะ Link ไม่ติดให้ตรวจดูที่สายแลนว่ามีการเชื่อมต่อไว้หรือเปล่าถ้ามีการเชื่อมต่อแล้วก็ต้องไปดูที่ปลายสายว่ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องหรือเปล่าเช่นกัน เพราะถ้ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องแล้ว ไฟสถานะ Link จะขึ้นโชว์ที่ตัวอุปกรณ์ AP เสมอ
- ไฟสถานะ ACT ไฟดวงนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการส่งข้อมูลผ่านตัวอุปกรณ์ AP ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ AP ส่วนมากแล้วจะมีการกระพริบอยู่ตลอดเมื่อมีการใช้งาน
ทั้งนี้ทั้งนั้นไฟสถานะทั้ง 3 สถานะที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นเพียงไฟสถานะเบื้องต้นเท่านั้นซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายอาจจะมีการเพิ่มไฟสถานะมากกว่า 3 สถานะนี้ก็ได้ โดยเราสามารถหาดูความหมายของไฟสถานะต่างๆได้จากคู่มือของอุปกรณ์ที่ทางผู้ผลิตได้มีมาให้พร้อมกับตัวอุปกรณ์ AP
โหมดการทำงานของ Access Point (AP)
การใช้งาน AP นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมากถ้าเทียบกับอุปกรณ์ไวร์เลสชนิดอื่น ๆ เพราะการใช้งาน AP นั้นไม่ต้องมีการตั้งค่าอะไรมากมาย เพียงเสียบสายแลนและตั้ง IP ให้อยู่วงเดียวกับตัวโมเด็มก็จะสามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถึงกระนั้นเราก็ควรจะรู้ถึงระบบการทำงานของ AP ว่าสามารถทำงานในโหมดแบบไหนได้บ้าง
1. โหมด Access Point 
     โหมดนี้เป็นโหมดพื้นฐานที่สุดเพราะถ้าไม่มีการตั้งค่าอะไรเลย AP จะอยู่ในโหมดนี้ สำหรับโหมดนี้เหมาะกับการใช้งานในเครือข่ายไร้สายที่ไม่ใหญ่มากและสามารถตั้งค่าความปลอดภัยได้หลายระดับตั้งแต่ป้องกันด้วยรหัสผ่านบนมาตรฐาน WEP หรือ WPA หรือป้องกันด้วยการกรอง MAC เพื่อการเชื่อมต่ออินเตอร์ในแต่ละครั้ง นอกจากนั้น AP บางตัวยังมีความสามารถอื่น ๆที่สามารถปรับแต่งได้มากกว่านี้อาทิเช่น การแบ่ง Traffic ของผู้ใช้งานออกจากกัน
2. โหมด Client Bridge 
     เป็นโหมดที่เปลี่ยน AP เป็นเครื่องรับซึ่งจะทำตัวเองเป็นลูกข่าย มีหน้าที่ในการรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตจาก AP ที่ส่งมาอีกทอดหนึ่ง ซึ่งระบบนี้จะเน้นในการใช้งานกับ AP ที่อยู่ในระยะไกล หรืออุปกรณ์ที่ไม่มีตัวรับสัญญาณอินเตอร์เน็ต โหมด Client Bridge จะช่วยเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้
3. โหมด Client Router 
     เป็นโหมดที่ทำงานคล้ายคลึงกับโหมด Client Bridge อย่างมากเพียงแต่มีข้อแตกต่างที่อุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาคือ NAT (Network Address Translation) อุปกรณ์นี้จะมีหน้าที่แปลง private IP ให้เป็น IP ที่สามารถใช้งานบนระบบอินเตอร์เน็ตได้ พร้อมกันนั้นยังมีการใช้งานฟังก์ชั่น DHCP ที่สามารถแจก IP Address ให้กับเครื่องลูกข่ายได้อีกด้วย
4. โหมด Wireless Router 
    โหมดนี้เราสามารถแปลง AP ให้มีการทำงานเหมือนกับ Wireless Router ทุกประการเพียงเราเอาสายแลนเสียบเข้าที่ช่อง WAN ก็จะใช้งานได้เลยทันที
5. โหมด WDS Bridge 
    เป็นโหมดที่มีการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง AP กับ AP ข้อดีของระบบนี้คือ เมื่อ AP1 ที่ส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้กับ AP2 AP1 ก็จะส่งค่า MAC Address ของเครื่องลูกข่ายทั้งหมดผ่านไปยังเครื่อง AP ตัวที่ 2ด้วยซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สะดวกมากสำหรับผู้ให้บริการ โดยผู้ให้บริการไม่ต้องไปใส่ MAC Address ของผู้ใช้งานกับ AP ทุกตัว
6. โหมด WDS AP 
    ถ้าใช้งานโหมดนี้ AP จะกลายเป็น Repeater หรือการขยายสัญญาณให้แรงขึ้นก่อนจะส่งสัญญาณไปยังเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่ออยู่ แต่ข้อเสียของโหมดนี้ก็คือ การเพิ่ม AP ที่มีหน้าที่เป็น Repeater มากขึ้นเท่าไรความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลก็จะช้าลงตามไปด้วยเช่นกัน
7. โหมด Universal Repeater
    จะทำงานคล้ายกับโหมด WDS AP แต่แตกต่างกันที่โหมด Universal Repeater สามารถเชื่อมต่อกับ AP ตัวไหนก็ได้ที่อยู่ในรัศมีและสามารถขยายสัญญาณไปให้กับเครื่องลูกข่ายได้เลย ซึ่งผิดกับ โหมด WDS AP ที่ต้องเชื่อมต่อและขยายสัญญาณกับ AP ที่ตั้งค่าไว้เท่านั้น โดยส่วนมากแล้วจะนิยมใช้งานโหมด Universal Repeater มากกว่า โหมด WDS AP
ประโยชน์ของ Access Point
        ประโยชน์ในการใช้งาน Access Point นั้นก็คือความสะดวกสบายของผู้ใช้งานและผู้ติดตั้ง ซึ่งความสะดวกสบายของผู้ใช้งานนั้นก็คือ เราสามารถนำอุปกรณ์ที่รับสัญญาณ wireless ไปใช้งานตรงไหนก็ได้ที่ AP อยู่โดยไม่ต้องเดินสายแลนไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์นั้น ๆ ซึ่งจะช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายอีกด้วย สำหรับความสะดวกสบายของผู้ติดตั้งนั้นก็คือ Access Point นั้นมีการติดตั้งที่ง่ายเพียงเราเลือกโหมดที่ต้องการใช้ตามลักษณะงานที่ไปติดตั้งพร้อมกันนั้นก็ตั้ง IP ให้อยู่ในวงเดียวกันก็สามารถใช้งานกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้แล้ว
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Access Pointผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Access Point


ที่มา : apisit

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Case

Case เคส กล่องใส่ ตู้ CPU คืออะไร

   
                     
     Case คือกล่องที่เอาไว้สำหรับในเมนบอร์ด พาวเวอร์ซับพลาย ฮาร์ตดิส ตัวอ่าน CD/DVD และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เคสนั้นมีหลากหลายขนาด หลายสี บางแบบก็มีไฟสวยงามให้ดูดีมีระดับ ในเคสแต่ละตัวก็จะมีพัดลมติดมาให้แล้ว จำนวนของพัดลมนั้นไม่เท่ากัน บางเคสมี 2 ตัวบางเคสมี 3 ตัว ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ นั้นต้องการพลังงานไฟฟ้าสูง โดยเฉพาะเครื่องสำหรับนักเล่นเกมส์ หรือโปรแกรมเมอร์ที่ทำงานด้านกราฟฟิก 3มิติ ที่ต้องใช้ความเร็วในการประมวลผลสูง


    ดังนั้นการเลือกเคสจึงต้องดูด้วยว่าแหล่งจ่ายไฟ Power Supply นั้นเพียงพอต่อความต้องการของคอมพิวเตอร์รึป่าว เคสมาตรฐาน ATX [ Advance Technology Extended] เป็นเคสที่นิยมในปัจจุบันพัฒนาต่อมาจาก Baby AT จุดเด่นของ ATX คือการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของหัวต่อต่าง ๆ เอาไปไว้ด้านหลังเพื่อความเป็นสะดวกง่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ


    และยังออกแบบหัวต่อแหล่งจ่ายไฟของเมนบอร์ดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มาตรฐาน Soft Start และ Soft Off คือคุณสมบัติที่สามารถใช้โปรแกรมหรือ Bios ควบคุมการเปิดปิดคอมพิวเตอร์ได้ เคส ATX ไดรส์จะติดตั้งด้านหน้าตามปกติ หัวต่อของอุปกรณ์ก็ตจะเรียงกันตามช่องของเคสที่ออกแบบเอาไว้แล้ว เพื่อความสะดวกในการเชื่อมต่ออุปกรณ์


     เคสที่ดีดูยังไง ? การเลือกเคส ขอบของเคสต้องมีการลบคมออกหมดแล้วจะได้ไม่บาดมือเวลาเราติดตั้งอุปกรณ์อะไรลงไป ต้องมีความพอดีและเหมาะสมกับขนาดของเมนบอร์ดที่จะใช้ร่วมกัน เคสต้องออกแบบมาให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ต้องมีช่องสำหรับพัดลมอย่างน้อย 2 ช่อง ด้านหน้าและหลัง ด้านหน้าของเคสควรจะมี Port USB ช่องเสียงลำโพง หูฟัง มาให้ด้วยเพื่อความสะดวกในการใช้งานเชื่อมต่ออุปกรณ์อย่างเช่นโทรศัพท์มือถือและต้องทำจากพลาสติกเพื่อป้องกันไฟดูด ช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องออกแบบมาให้พอดีเหมาะสมในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ จะต้องตรงไม่เบี้ยว ใส่อุปกรณ์แล้วต้องแน่นลงล็อกพอดี

ที่มา : sathaphon

จอภาพ,Display (คอมพิวเตอร์)

     
         จอภาพ หรือ วีดียู (อังกฤษ: visual display unit: VDU) หรือชื่ออื่นเช่น จอคอมพิวเตอร์ จอคอม จอมอนิเตอร์ มอนิเตอร์ จอแสดงผล จอภาพแสดงผล จอภาพแสดงผลคอมพิวเตอร์ จอทีวี จอโทรทัศน์ ฯลฯ คือส่วนหนึ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แสดงรูปภาพให้เห็นจากอุปกรณ์ที่สามารถส่งออกวิดีโอ เช่นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ซึ่งรูปภาพที่ปรากฏสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้และไม่คงอยู่อย่างถาวร จอภาพประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ที่แสดงผลให้เห็น และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในที่สร้างรูปภาพจากสัญญาณวิดีโอ อุปกรณ์ที่แสดงผลยุคใหม่จะเป็นจอภาพผลึกเหลวทรานซิสเตอร์แผ่นบาง (thin film transistor liquid crystal display: TFT-LCD) และจอภาพยุคก่อนเป็นหลอดภาพรังสีแคโทด (cathode ray tube: CRT)


    ขนาดของจอภาพ

          ขนาดของจอภาพจะวัดจากมุมหนึ่งของจอ ไปยังอีกมุมหนึ่งในแนวทแยงที่อยู่ตรงข้ามกัน แต่ปัญหาหนึ่งของการวัดแบบนี้คือไม่สามารถแยกแยะได้ว่าจอภาพจะมีอัตราส่วนลักษณะ (aspect ratio) เท่าใด แม้ว่าจะมีขนาดทแยงมุมเท่ากัน เนื่องด้วยข้อเท็จจริงที่ว่ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะมีพื้นที่น้อยกว่ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเมื่อกำหนดให้เส้นทแยงมุมยาวเท่ากัน ตัวอย่างเช่น จอภาพ 21 นิ้วในอัตราส่วน 4:3 มีพื้นที่ประมาณ 211 ตารางนิ้ว ในขณะที่จอภาพไวด์สกรีน 21 นิ้วในอัตราส่วน 16:9 จะมีพื้นที่แสดงผลเพียง 188 ตารางนิ้วเท่านั้น

      การวัดด้วยวิธีนี้มาจากโทรทัศน์แบบหลอดภาพชนิดเริ่มแรก เนื่องจากหลอดภาพในสมัยนั้นเป็นรูปวงกลมโดยปกติ เมื่อเอ่ยถึงขนาดของหลอดภาพก็เพียงวัดขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของรูปวงกลม และเมื่อหลอดภาพวงกลมต้องแสดงภาพเป็นรูปสี่เหลี่ยม การวัดระยะเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมก็เทียบเท่ากับการวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดภาพเพื่อให้ภาพเต็มจอพอดี วิธีการนี้ก็ยังใช้กันเรื่อยมาแม้ว่าหลอดภาพจะเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมโค้งมนแทน

      อีกปัญหาหนึ่งคือการวัดขนาดหน่วยแสดงผลของจอภาพโดยตรง ซึ่งเป็นขนาดเพื่อการโฆษณาสินค้าและพบเห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะกับหลอดภาพรังสีแคโทด จะมีหน่วยแสดงผลส่วนหนึ่งซึ่งถูกบดบังตามขอบจอเพื่อซ่อนส่วนที่อยู่นอกพื้นที่ปลอดภัย เรียกว่าโอเวอร์สแกน (overscan) ดังนั้นขนาดที่ได้เห็นจริงจึงมีพื้นที่น้อยกว่าขนาดที่โฆษณาอยู่เล็กน้อย ลูกค้าที่ซื้อไปใช้รู้สึกว่าถูกหลอกจึงมีการร้องเรียนอย่างกว้างขวาง และหลายคดีก็ตัดสินว่าให้ผู้ผลิตจอภาพต้องวัดขนาดพื้นที่ที่แสดงผลได้จริง แทนที่จะวัดจากขนาดของหลอดภาพ

  
   เทคโนโลยีการฉายภาพ

        เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันหลายอย่าง มีขึ้นเพื่อใช้ส่งออกภาพวิดีโอที่สร้างจากคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันหลายอย่าง มีขึ้นเพื่อใช้ส่งออกภาพวิดีโอที่สร้างจากคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์
  • จอภาพผลึกเหลว (LCD)
    • จอภาพผลึกเหลวแบบส่องไฟผ่าน (passive LCD) เคยใช้ในแล็ปท็อปจนถึงช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ด้วยมีข้อเสียที่ว่ามีความคมชัดต่ำและตอบสนองช้า
    • จอภาพผลึกเหลวทรานซิสเตอร์แผ่นบาง (TFT-LCD) สามารถสร้างภาพได้ดีกว่า ปัจจุบันจอภาพผลึกเหลวแทบทั้งหมดเป็นประเภทนี้

  • หลอดภาพรังสีแคโทด (CRT)
    • จอภาพคอมพิวเตอร์แบบแรสเตอร์ สร้างภาพโดยใช้พิกเซลมาประกอบกัน เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่นิยมมากสำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นก่อน
    • จอภาพคอมพิวเตอร์แบบเวกเตอร์ ใช้งานกับอุปกรณ์เรดาร์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องเกมเวกเทรกซ์ (Vectrex) รวมไปถึงเกมตู้อย่างแอสเทอรอยด์ส (Asteroids) เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ระบบของการสะท้อน
    • โทรทัศน์เคยใช้เป็นจอภาพให้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยการเชื่อมต่อสัญญาณวิดีโอประกอบ (composite video) (ขั้วกลมสีเหลือง) เข้ากับตัวกล้ำสัญญาณ (modulator) แต่คุณภาพและความละเอียดของภาพมักจะถูกจำกัดโดยความสามารถของโทรทัศน์นั้นเอง

  • จอภาพพลาสมา (PDP)
  • เครื่องฉายภาพวิดีโอใช้ CRT, LCD, DLP, LCoS, และเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อที่จะฉายภาพไปบนสกรีนฉายภาพ เครื่องฉายภาพด้านหน้าจะใช้สกรีนเป็นตัวสะท้อนแสงกลับมาสู่ผู้ชม ในขณะที่เครื่องฉายภาพด้านหลังใช้สกรีนเป็นตัวกระจายแสงให้หักเหออกไปข้างหน้า เครื่องฉายภาพด้านหลังกับสกรีนอาจรวมอยู่ในเครื่องเดียวกันอย่างโทรทัศน์
  • จอภาพยิงอิเล็กตรอนบนตัวนำที่ผิวหน้า (surface-conduction electron-emitter display: SED)
  • จอภาพไดโอดเปล่งแสงชีวภาพ (organic light emitting diode: OLED)
  • จอภาพเพเนทรอน (penetron) ใช้กับอากาศยานทหาร

   การวัดประสิทธิภาพ

    ประสิทธิภาพของจอภาพสามารถวัดได้จากหลายปัจจัยดังนี้
  • ความส่องสว่าง วัดในหน่วยแคนเดลาต่อตารางเมตร
  • ขนาดของจอภาพ วัดความยาวตามแนวทแยง สำหรับหลอดภาพ บริเวณที่เห็นภาพมักจะเล็กกว่าขนาดของหลอดภาพอยู่หนึ่งนิ้ว
  • อัตราส่วนลักษณะ คืออัตราส่วนของพิกเซลในแนวนอนต่อแนวตั้ง อัตราส่วนปกติคือ 4:3 เช่นจอภาพที่กว้าง 1024 พิกเซล จะสูง 768 พิกเซล ถ้าเป็นจอภาพไวด์สกรีน จะมีอัตราส่วนเป็น 16:9 ดังนั้นจอภาพที่กว้าง 1024 พิกเซล จะสูง 576 พิกเซล
  • ความละเอียดจอภาพ คือจำนวนพิกเซลตามความกว้างและความสูงที่สามารถแสดงผลได้ (ไม่ได้หมายถึงพิกเซลที่กำลังแสดงผลภาพอยู่ในปัจจุบัน) ความละเอียดที่มากที่สุดถูกจำกัดโดยระดับพิกเซล (ดูถัดไป)
  • ระดับพิกเซล คือระยะระหว่างพิกเซลสีเดียวกันในหน่วยมิลลิเมตร หากระดับพิกเซลน้อยลง ภาพจะมีความคมชัดมากขึ้น
  • อัตรารีเฟรช คือจำนวนครั้งในหนึ่งวินาทีที่ภาพนั้นถูกฉายลงบนหน้าจอ อัตรารีเฟรชที่มากที่สุดถูกจำกัดโดยเวลาตอบสนอง (ดูถัดไป)
  • เวลาตอบสนอง คือเวลาที่ใช้ไปขณะพิกเซลเปลี่ยนจากสีดำไปเป็นสีขาว และกลับมาเป็นสีดำอีกครั้ง วัดในหน่วยมิลลิวินาที ค่าที่น้อยลงหมายความว่าจอสามารถเปลี่ยนภาพได้เร็วขึ้น และหลงเหลือภาพก่อนหน้าน้อยกว่า
  • อัตราส่วนความแตกต่าง คืออัตราส่วนความส่องสว่างของสีที่สว่างที่สุด (สีขาว) ต่อสีที่มืดที่สุด (สีดำ) ที่จอภาพนั้นสามารถสร้างได้
  • การใช้พลังงาน วัดในหน่วยวัตต์
  • มุมในการมอง คือมุมที่มากที่สุดที่หันเหหน้าจอออกไปแล้วยังสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ปรากฏยังไม่ลดคุณภาพ เช่นสีเพี้ยนเป็นต้น




     ที่มา : benjamaporn

Wireless USB Adapter

 USB กับ Wireless USB กันก่อน

“ชีวิตไร้สาย-ไร้ขีดจำกัด กับ Wireless USB”
ก่อนอื่นเรามารู้จักกลุ่มที่รวมตัวกันเพื่อพัฒนามาตรฐาน USB  ซึ่งมีชื่อว่า The USB Implementers Forum หรือ (USB-IF) โดยจัดอยู่ในประเภทหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรที่จะค่อยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเกี่ยวกับ USB ทั้งนี้ กลุ่ม USB-IF นี้ประกอบไปด้วยหลายหน่วยงานที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น Apple Computer, Hewlett-Packard, NEC, Microsoft, Intel, and Agere Systems และปัจจุบันได้มีอีกหลายๆหน่วยงานเข้ามาร่วมด้วย
และแล้ว USB-IF ก็ได้มีการพัฒนา USB ให้ก้าวย่างเข้าสู่ยุคไร้สายจนเกิดเป็น “Wireless USB” หรือ WUSB ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สายแบบแรกที่สามารถทำงานรวมกับระบบเดิม หรือ USB แบบธรรมดาได้ โดยยอมให้ผู้ใช้สามารถเชื่อต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น โดยมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลถึง 480Mbps ที่รัศมี 4 เมตร และความเร็วจะต่ำลงจนเหลือประมาณ 110Mbps หากมีการวางอุปกรณ์เลยห่างออกไปจนถึงประมาณ 10 เมตร จึงนับได้ว่าเป็นความก้าวหน้ามาแรงที่จะช่วยทำให้เราเกิดความสะดวกสบายและไม่ต้องรำคาญกับสายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เกะกะอีกต่อไป

USB กับ Wireless USB เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

USB

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า USB นับได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างมหาศาล ทั้งในคอมพิวเตอร์ PC เครื่อง Mac และคอมพิวเตอร์ Notebook ซึ่งในปัจจุบันมี port USB ในเมนบอร์ดแทบทุกยี่ห้อ เนื่องจากการใช้งาน USB นั้นสะดวกกว่า Port อื่นๆในอดีต ทั้งในเรื่องของ hot-swapped, ความเร็ว และรวมถึงลักษณะ port ที่ใส่ง่าย มีความสามารถรองรับ Plug & Play ทำให้ USB จึงเป็นเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จจอย่างมาก

USB ย่อมาจาก (Universal Serial BUS)ได้ถูกพัฒนาโดย COMPAQ, Digital Equipment (รวมกิจการกับ COMPAQ), IBM, Intel, Microsoft, NEC และ Northern Telecom. เพื่อขยายขีดความสามารถในการทำงานของพอร์ตอนุกรม เป็นอินเตอร์เฟสที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ I/O กับคอมพิวเตอร์

โดยความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลนั้นมีดังนี้
USB 1.1 จะมีความเร็วอยู่ที่ 12 Mbps

USB 2.0 นั้น รองรับระดับการรับส่งข้อมูลได้ถึง 3 ระดับ คือ
                   
ความเร็ว 1.5 Mbps ( Low Speed ) สำหรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลคราวละมากๆ

ความเร็ว 12 Mbps ( Full Speed ) สำหรับการเชื่อมต่อกับ USB 1.1

ความเร็ว 480 Mbps ( Hi-Speed ) สำหรับการเชื่อมต่อกับ USB 2.0 ด้วยกัน

ซึ่งลักษณะของการทำงานของหัวต่อทั้งสองแบบมีดังนี้
แบบ A จะเป็นการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ไปยังเครื่อง Computer เพื่อการประมวล เรียกว่า UpStream แบบ B จะกลับกันคือจะส่งข้อมูลเข้าหาอุปกรณ์ เรียกว่า DownStream

Wireless USB (WUSB)

Wireless USB (WUSB) ก็เกิดจากแนวคิด และใช้พื้นฐานเดียวกับ USB แต่พัฒนาให้เป็นแบบการสื่อสารไร้สาย ซึ่งเป้าหมายหลักๆก็เหมือนเช่นเดียวกันกับ USB คือ ใช้กับ PC และอุปกรณ์ต่อพ่วงรวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกทำมาใช้เพื่อการเชื่อมต่อไร้สายที่มีชื่อเรียกว่า อัลตราไวด์แบนด์ หรือ ultrawideband (UWB) โดยเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อที่มีความเร็วสูง ปลอดภัยและมีความเสถียร โดยมีระบบเชื่อมต่อไกลถึง 10 เมตร คลื่นความถี่วิทยุของ UWB จะอยู่ในช่วง 3.1 ถึง 10.6GHz ซึ่งยากต่อการรบกวน ดังนั้นอุปกรณ์ Wireless USB จึงไม่ถูกรบกวนจากเทคโนโลยีไร้สายอื่นๆ เช่น Wi-Fi, บลูทูธ, โทรศัพท์ไร้สายหรือแม้แต่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เตาไมโครเวฟ
        ทั้งนี้ ข้อดีหลักของ Wireless USB คือการเชื่อมต่อโดยปราศจากข้อจำกัดในเรื่องการต่อสาย จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆ เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC หรือ Notebook โดยไม่จำเป็นที่ไม่มีสายอีกต่อไป เช่น เชื่อมต่อระหว่าง PC กับเครื่องพรินเตอร์ กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นMP3 เป็นต้น และด้วยคุณสมบัติที่มีรัศมีทำการไกลสุดอยู่ที่ 30 ฟุต ทำให้เกินการยืดหยุ่นในการใช้งานในลักษณะแบบ Wireless ให้กับอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ
ความสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆ เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยไร้สาย
ที่มา : arnon

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

คียบอร์ด+เมาส์

คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (Keybourd) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส หรือ บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก    






เมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเป็น ประเภท
1.แบบทางกล (Mechanical)




     
  เมาส์จะมีล้อยางเป็นลูกกลิ้งอยู่ด้านล่าง เมื่อผู้ใช้เมาส์เลื่อนเมาส์ไปบนแผ่นรองเมาส์ (Mouse pad) หรือพื้นโต๊ะ จะทำให้ลูกกลิ้งด้านล่างหมุนและทำให้แกนภายในของเมาส์หมุน ก็จะส่งสัญญาณเป็นพิกัดในการเลื่อนตำแหน่งชี้ (Mouse Pointer) ของเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ เมื่อต้องการเลือกส่งต่าง ๆ บนจอภาพ ทำได้โดยการกดปุ่มซ้ายหรือขวา ครั้ง (Click) หรือ ครั้ง (Double Click) การทำงานของเมาส์นี้จะต้องควบคุมด้วยโปรแกรมที่เรียกว่า Mouse Driver
2.แบบใช้แสง (Optical mouse)
                                                                




         อาศัยหลักการส่งแสงจาก Mouse ลงไปบนแผ่นรอง Mouse
3.แบบไร้สาย (Wireless Mouse)
                                    








    เป็น Mouse ที่มีการทำงานเหมือน Mouse ทั่วไปเพียงแต่ไม่มีการใช้สายไฟต่อออกมาจากตัว Mouse ซึ่ง Mouse ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณซึ่งทางด้านตัวรับสัญญาณอาจจะเป็นหัวต่อแบบ PS/2 หรือ แบบUSB ที่เรียกว่า Thumb USB receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุอยู่ที่ 27MHz และปัจจุบันใช้แบบ Nano receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุที่ 2.4 GHz

ที่มา:  notejatuporn

วิธีเข้าสาย LAN และอุปกรณ์

วิธีเข้าสาย LAN และอุปกรณ์

สาย LAN/สายตรง/สายครอส, การต่ออุปกรณ์ด้วยสาย LAN สไตล์ CCNA








       การเชื่อมต่ออุปกรณ์ Computer และอุปกรณ์เครือข่าย (Hub, Switch และ Router) ด้วยสาย LAN นั้น (ในยุกต์ที่อุปกรณ์ยังไม่มีระบบ Auto Cross / Auto Cross คืออะไร มีอธิบายครับ) เราจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเราควรจะใช้สายตรงหรือสายครอสในการเชื่อมต่ออุปกรณ์อะไรกับอุปกรณ์อะไร (มีในข้อสอบ CCNA ครับ) ซึ่งมีวิธีจำแบบง่ายๆ ที่หลายๆ คนใช้อยู่ (แต่มีจุดที่ต้องระวัง) คือ
- อุปกรณ์เหมือนกัน ต่อกันใช้สาย LAN แบบครอส (Crossover Cable)
- อุปกรณ์ต่างกัน ต่อกันใช้สาย LAN แบบตรง (Straight-Through Cable)
ซึ่งเป็นวิธีจำที่ใช้ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งหลายคนจะเหมารวมว่า "งั้นแสดงว่า Computer ต่อ Router ก็ต้องเป็นสายตรงซิเพราะเป็นอุปกรณ์คนละชนิดกัน" แต่คำตอบที่ถูกต้องคือ Computer ต่อ Router ต้องเป็นสายครอสครับ ซึ่งจากรูปข้างล่าง เป็นรูปที่แสดงถึงการใช้สายครอสกับสายตรง เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เครือข่ายอย่างถูกต้องครับ (ใช้อ้างอิงในการสอบ CCNA ได้นะครับ)




แล้วอะไรเป็นตัวที่บอกว่า Router และ Computer เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกันล่ะ ก่อนอื่น เรามารู้จัก MDI และ MDI-X กันซักหน่อย

MDI หรือ Medium Dependent Interface: เป็นชนิดของ Ethernet port ซึ่งจะถูกใช้อยู่บน Network Interface Card (NIC) หรือที่เราเรียกว่า Card LAN นั่นเอง ซึ่ง Card LAN นี้ก็ถูกเสียบอยู่ Computer อีกทีนั่นแหละ นอกจากนี้แล้ว Ethernet port บน Router เองก็เป็นชนิด MDI ด้วยเช่นกัน

MDIX หรือ MDI-X หรือ Medium Dependent Interface Crossover: เป็นชนิดของ Ethernet port ที่อยู่บน Hub และ Switch นั่งเอง  (อักษร X จะเป็นตัวแทนของคำว่า "Crossover" นั่นเอง) 

ดังนั้นคำว่า
- อุปกรณ์เหมือนกัน ต่อกันใช้สาย LAN แบบครอส (Crossover Cable)
- อุปกรณ์ต่างกัน ต่อกันใช้สาย LAN แบบตรง (Straight-Through Cable)
จึงควรจะถูกใช้ในลักษณะนี้ครับ

- MDI ต่อกับ MDI เป็นชนิดเดียวกันใช้สายครอส (Crossover cable)
- MDI-X ต่อกับ MDI-X เป็นชนิดเดียวกันใช้สายครอส (Crossover cable)
- MDI ต่อกับ MDI-X เป็นคนละชนิดกันใช้สายตรง (Straight-Through Cable)

และจาก
- Port แบบ MDI ประกอบด้วยอุปกรณ์คือ Router และ Computer
- Port แบบ MDI-X ประกอบด้วยอุปกรณ์คือ Hub กับ Switch 

ดังนั้นเมื่อสรุปการเชื่อมต่ออุปกรณ์แล้วจะได้ผลตรงกับรูปข้างบนครับ ซึ่งเป็นรูปในเอกสารการเรียนการสอนของ CCNA ครับ


Auto Cross หรือ Auto MDI/MDI-X คืออะไร?


สำหรับอุปกรณ์ในเครือข่ายที่รองรับการทำ Auto Cross หรือ Auto MDI/MDI-X นั้น เมื่อนำสาย LAN มาต่อกันระหว่างอุปกรณ์แบบผิดหลักการที่กล่าวไปแล้ว (เช่น นำสาย LAN แบบตรงมาต่อกันระหว่าง Switch กับ Switch หรือระหว่าง Computer กับ Computer) หากอุปกรณ์เหล่านั้นรองรับการทำ Auto Cross หรือ Auto MDI/MDI-X แล้ว การเชื่อมต่อจะยังคงสามารถใช้งานได้ เนื่องอุปกรณ์ทั้งสองฝั่งจะทำการเรียนรู้กันและกัน และปรับตัวเองให้รองรับการเชื่อมต่อนั้นได้

มาต่อกันด้วยเรื่องของการเข้าหัว LAN ครับ (จริงๆ แล้วมีหลายคนเขาแชร์เรื่องนี้ไว้มากเหมือนกัน ตอนแรกว่าจะตัดออก แต่คิดๆ แล้วขอใส่เอาไว้ซักหน่อยไว้เป็นทางเลือกด้านข้อมูลครับ)

ก่อนอื่นเรามารู้จักสาย LAN กันซักหน่อยนะครับ สาย LAN ที่คนส่วนใหญ่รู้จักและใช้งานอยู่นั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาย UTP หรือสาย CAT5 นั่นเอง ซึ่งผมขออธิบายคำว่า UTP และ STP เชิงเปรียบเทียบก่อนดังนี้ครับ

สาย UTP (Unshielded Twisted Pair Cable) เป็นสายแบบตีเกลียวเป็นคู่ๆ ทั้งหมดสี่คู่โดยไม่มีเกราะป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก  (Foil Shield) โดยดูได้ตามรูปข้างล่างครับ





สาย STP (Shielded Twisted Pair Cable) เป็นสายแบบตีเกลียวเป็นคู่ๆ ทั้งหมดสี่คู่ ซึ่งมีเกราะป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก  (Foil Shield)  โดยดูได้ตามรูปข้างล่างครับ







หมายเหตุ การที่สาย LAN ต้องมีการตีเกลียวเพื่อที่จะป้องกันสัญญาณรบกวนกันเองภายในสาย LAN โดยการตีเกลียวจะเป็นการทำให้คลื่นแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสสัญญาณในสายทองแดงแต่ละเส้นหักล้างกันเอง 

และแน่นอนว่าสายแบบ STP ซึ่งมีเกราะป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ย่อมดีกว่าสายแบบ UTP แต่ทว่าราคาของสายแบบ STP ก็แพงกว่าแบบ UTP ด้วยเช่นกันครับ 

แล้วคำว่า CAT5 คืออะไรล่ะ? คำว่า CAT5 จริงๆ แล้วมาจากคำเต็มๆ ว่า Category 5 หรือสายประเภทที่ 5 ครับ (ผมขอข้ามสาย CAT1 ถึง CAT4 ไปนะครับ) โดยจะขออธิบายสาย CAT5, CAT5e และ CAT6 พร้อมรูปตัวอย่างดังนี้ครับ

สาย CAT5 (Category 5 cable) เป็นสายที่ถูกผลิดขึ้นมาตามมาตรฐานของ Fast Ethernet (100 Mbit/sec) โดยเฉพาะ เหมาะที่จะใช้งานกับ Ethernet Network ที่มี speed 100 Mbit/sec (Interface แบบ Fast Ethernet) เป็นหลักครับ แต่หากจะนำมาใช้กับ Ethernet Network ที่มี speed 1,000 Mbit/sec หรือ 1 Gbit/sec (Interface แบบ Gigabit Ethernet) นั้นก็พอใช้ได้ครับ แต่ประสิทธิภาพอาจจะไม่ดีเท่าไหร่ครับ (ซึ่งสายแบบ CAT5 ก็คือสายแบบ UTP นั่นเองครับ) โดยมีรูปดังข้างล่างครับ





สาย CAT5e (Category 5 enhanced cable) เป็นสายที่มีการพัฒนาขึ้นมา (enhance) จากสาย CAT5 เดิมครับ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า (เพื่อให้สามารถรองรับ Ethernet Network แบบ Gigabit Ethernet ได้) ซึ่งใช้งานได้ดีกับ Ethernet Network ทั้งแบบ 100 Mbit/sec (Fast Ethernet) และแบบ 1,000 Mbit/sec (Gigabit Ethernet) ซึ่งแน่นอนว่าสายแบบ CAT5e ย่อมจะแพงกว่า CAT5 โดยมีรูปดังข้างล่างครับ





สาย CAT6 (Category 6 cable) เป็นสายที่ถูกผลิตขึ้นมาตามมาตรฐานของ Gigabit Ethernet โดยเฉพาะครับ ซึ่งแน่นอนครับ เหมาะกับ Ethernet Network แบบ Gigabit Ethernet แต่อย่างไรก็ตามสาย CAT6 นี้ก็ยังสามารถนำไปใช้งานกับ Ethernet Network แบบ 100 Mbit/sec ได้ครับ โดยมีรูปดังข้างล่างครับ








หมายเหตุ รูปของสาย CAT5, CAT5e และ CAT6 ที่แสดงนี้เป็นภาพตัวอย่างเท่านั้น ดังนั้นเวลาไปซื้อสาย สามารถสังเกตที่ข้างๆ สายได้ครับ โดยจะมีเขียนเอาไว้ว่าเป็นสาย Category อะไรครับ



ทีนี้มาถึงการเข้าหัว LAN กันครับ โดยขั้นแรกเราต้องรู้วิธีการนับขา (pin) ของหัว LAN กันก่อนนะครับ ดังรูปข้างล่าง
หมายเหตุ หัว LAN มีชื่อที่เป็นมาตรฐานคือ หัว RJ-45 ครับ



การเข้าหัว LAN มีมาตรฐานการเข้าอยู่สองแบบดังนี้ครับ
แบบ TIA/EIA 568A ดังรูปข้างล่าง





แบบ TIA/EIA 568B ดังรูปข้างล่าง








การเข้าหัว LAN สำหรับทำสายตรง (Straight-Through Cable) 
การเข้าหัว LAN สำหรับทำสายตรงนั้นมีสองแบบดังนี้ครับ
แบบที่ 1 การเข้าหัวทั้งสองฝั่งเป็นแบบ TIA/EIA 568A ดังรูปข้างล่าง





แบบที่ 2 การเข้าหัวทั้งสองฝั่งเป็นแบบ TIA/EIA 568B ดังรูปข้างล่าง





การเข้าหัว LAN สำหรับการทำสายครอส (Crossover Cable)
การเข้า LAN สำหรับการทำสายครอสนี้สามารถทำได้ง่ายๆ คือ ฝั่งหนึ่งเข้าหัวตามมาตรฐาน TIA/EIA 568A และอีกฝั่งหนึ่งเข้าหัวตามมาตรฐาน TIA/EIA 568B ดังรูปข้างล่างครับ





หรือเจาะลึกลงไปอีกหน่อยคือ 
- Pin 1 เข้า Pin 3 ของอีกฝั่ง
- Pin 2 เข้า Pin 6 ของอีกฝั่ง
- Pin 3 เข้า Pin 1 ของอีกฝั่ง
- Pin 6 เข้า Pin 2 ของอีกฝั่ง
ดังรูปข้างล่างครับ






หากไม่เข้าหัว LAN ตามมาตรฐานจะได้ไหม?


จากประสบการณ์ที่เคยทำงานมาในช่วงแรกๆ ของการเข้าวงการ ผมเคยเข้าหัว LAN แบบตามใจฉัน คือ ถ้าเป็นสายตรง ก็เข้าหัวให้ทั้งสองฝั่งเหมือนๆ กันก็พอ และถ้าเป็นสายครอส ก็เข้าหัวแบบ 1 เข้า 3 และ 2 เข้า 6 อะไรประมาณนี้ 
ผลคือ ใช้งานได้ครับ แต่.... 
หลังจากที่ผมเสียบสาย LAN ดังกล่าวเข้า Interface LAN แบบ 100 M ทั้งสองฝั่ง ผลคือ ผมใช้ได้แค่ 10 M ครับ โดย Card LAN ทำการปรับตัวเองให้กลายเป็น 10 M อย่างอัตโนมัติ (ผลมันแสดงออกบน Windows เลยครับว่าให้ใช้ได้แค่ 10 M)


ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

เราลองมาสังเกตที่สาย LAN กันสักหน่อยครับ จะเห็นได้ว่าสาย LAN จะมีสายทองแดงข้างในทั้งหมด 8 เส้น แบ่งเป็น 4 คู่ โดยแต่ละคู่จะมีการพันกันเป็นเกลียว (มันจึงชื่อว่า Twisted Pair ครับ) และที่สายแต่ละคู่จำเป็นต้องพันกันเป็นเกลียวนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสสัญญาณมากวนกันเองครับ (พันกันเป็นเกลี่ยวเพื่อให้สนามแม่เหล็กหักล้างกันเอง ไม่มากวนกันเอง) ดังนั้นหากเราไม่เข้าหัว LAN ตามมาตรฐานแล้ว การหักล้างกันของสนามแม่เหล็กอาจจะไม่สมบูรณ์ กลายเป็นสัญญาณที่มารบกวนกันเอง ทำให้เกิด loss ภายในสาย และท้ายสุด Card LAN จำเป็นต้องปรับ speed ลงจาก 100 M ให้เป็น 10 M อย่างอัตโนมัติ เพื่อให้เรายังคงสมารถใช้งานได้ครับ

ที่มา :panupop